logo
เริ่มต้นใช้งาน
10 เมนูโปรดคนไทย โซเดียมสูงกระฉูด

10 เมนูโปรดคนไทย โซเดียมสูงกระฉูด

เมนูไหนเป็นเมนูโปรดของใครบ้าง? ยกมือขึ้น รู้หรือไม่ว่า ในหนึ่งวัน เราไม่ควรได้รับโซเดียมเกินกี่มิลลิกรัม? คำตอบ คือ 2,000 มิลลิกรัม (หรือ 6ช้อนชา นั่นเอง) โดยในอาหารมื้อหลัก ไม่ควรมีโซเดียมเกิน 600 มก (มิลลิกรัม) ซึ่งโซเดียมนี่เอง ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค#ความดัน #โรคไต #โรคหัวใจ แต่ ! ลองมาดูปริมาณโซเดียมในอาหารยอดนิยมของคนไทยเรากันค่ะ เส้นใหญ่ผัดขี้เมา มีโซเดียมเฉลี่ย 1,741 มก ต่อจาน ! สุกี้น้ำ 1 ถ้วย –>1,560 มก. บะหมี่หมูแดง –>1,480 มก. ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ –>1,417 มก. ผัดซีอิ๊ว –>1,352 มก. ข้าวคลุกกะปิ –> 1,248 มก. ข้าวขาหมู –> 1,205 มก. ข้าวมันไก่ –>1,184 มก. แกงส้มผักรวม 1 ถ้วย –> 1,130 มก. น้ำพริกกะปิ 4 ช้อนโต๊ะ –> 1,100 มก. ต้มยำกุ้ง -> 1,000 มก. ส้มตำอีสาน –>1,006 มก. เมนูอื่นๆ ผัดผักบุ้งไฟแดง –>894 มก. ผัดเผ็ดปลาดุก -> 750 มก. ข้าวหมูกรอบ –>700 มก. ทอดมันปลา -> 650 มก. แกงเขียวหวาน -> 625 มก. ปอเปี๊ยะสด –> 562 มก. ข้าวไข่เจียว –>362 มก. (แบบไม่ใส่ซอสพริกเพิ่ม) ทั้งนี้ ไม่ใช่ว่า จะกินเมนูนี้ไม่ได้แล้วนะ แต่ขึ้นอยู่กับปริมาณและความถี่ด้วย รวมทั้ง เทคนิคด้านล่างนี้ก็ช่วยได้ ! เทคนิค #ลดโซเดียม เลี่ยงโซเดียมอย่างไรไม่ให้ได้รับมากเกินไป 1 อาหารที่เป็นน้ำแกง น้ำซุป พยายามไม่ทานน้ำแกงจนหมดน้า ถ้าเป็นข้าวราดแกง ขอแยกแกงมาเลยจะดีมากค่ะ 2 อย่าปรุง อย่าจิ้ม (น้ำปลา น้ำจิ้ม ซีอิ๊ว)เพิ่ม !  เพราะโซเดียมในอาหารแต่ละจานก็มีสูงมากพอแล้ว เช่น กินข้าวมันไก่ สุกี้น้ำ ก็อย่าเติมน้ำจิ้มมาก จะดีกว่าน้า 3 หากมื้อนี้ทานอาหารโซเดียมสูงแล้ว มื้อหน้าก็เลือกเมนูอื่นที่โซเดียมไม่สูงเกินไปแทน เช่น ✅ ทานข้าวแป้งไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอรี ขนมปังโฮลวีท ✅ เพิ่มปริมาณผัก ✅ เลือกเนื้อสัตว์หรืออาหารที่ไม่แปรรูป ก็จะช่วยให้หลีกเลี่ยงโซเดียมที่เป็นต้นเหตุของโรค #ความดันโลหิตสูง และ #โรคไตเสื่อม ได้นะคะ ❤️ แหล่งอ้างอิง : ลดเค็มพิชิตภัยเงียบ โดยสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย