บทความ
"ถ้าโซเดียมส่วนเกินมาก ไตก็ทำงานหนัก " การบริโภคโซเดียมมากเกินความต้องการของร่างกาย ร่างกายจะเกิดโรค "ความดันโลหิตสูง" เร่ง "ไตเสื่อม" ให้เร็วขึ้น เพราะไตมีหน้าที่ในการขับ "โซเดียมส่วนเกิน" ออกจากร่างกาย นอกจากนั้น ผู้ที่เป็นเบาหวาน ✅หากคุมความดันให้ได้ดี ก็จะช่วยให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น ส่งผลให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น : ) 🌟 เทคนิคการคุม หรือ ลดประมาณโซเดียม ✅1 ปรุงอาหารเอง หนึ่งวันเราไม่ควรรับประทานโซเดียมเกิน 2,300 มิลลิกรัม (หรือ เท่ากับน้ำปลา 6 ช้อนชา) ปกติในวัตถุดิบธรรมชาติจะมีโซเดียมอยู่แล้ว 800 กรัม จึงควรเติมเครื่องปรุงที่ให้รสเค็ม เช่น น้ำปลา ซอสปรุงรส 🌟ไม่เกิน 3 ช้อนชา/วัน นะคะ - ไม่ควรปรุงไป ชิมไป เพราะในเนื้อสัตว์จะมีความเค็มอยู่แล้วตามธรรมชาติ ควรปรุงรสชาติทีเดียวตอนอาหารเสร็จค่ะ -ลองใช้เครื่องเทศ สมุนไพร เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ทดแทน หรือ ใช้รสเปรี้ยว เช่น น้ำมะนาว น้ำมะขาม เพื่อชูรสชาติอาหาร ✅2 เมื่อทานอาหารตามสั่ง ขอ"ลดเค็ม รสไม่จัด" และ ชิมก่อนปรุง ! ✅ 3 ทานอาหารสดใหม่ ไม่เน้นแปรรูป ข้าวสวย 1 ทัพพี มีโซเดียมเพียง 20 มิลลิกรัม แต่ถ้าทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ซอง จะมีโซเดียถึง 1500 มิลลิกรัม ! โดยปกติอาหารแปรรูป จะมีโซเดียมเพิ่มขึ้น 7-10 เท่า (เพื่อการยืดอายุอาหาร) เช่น - ปลากระป๋อง มีโซเดียม 700 มิลลิกรัม - โจ๊ก/บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มีโซเดียมประมาณ 1,000 มิลลิกรัม - อาหารแช่แข็ง มีโซเดียม 700-1,000 มิลลิกรัม -ขนมขบเคี้ยว 200-400 มิลลิกรัม -อาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า ผักดอง ผลไม้ดอง ไข่เค็ม ปลาเค็ม -เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น แฮม เบคอน ไส้กรอก หมูหยอง หมูยอ เนื้อเค็ม ✅ 4 ลดการทานน้ำซุป น้ำแกง น้ำผัด เครื่องจิ้มต่างๆ น้ำผัด 1 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียมถึง 400 มิลลิกรัม (ทาน5ช้อน ก็เท่ากับได้ 2000 ซึ่งเป็นโควตาของทั้งวัน) เทคนิคในการลดการทานน้ำผัดในอาหาร : -ทำได้โดยใช้ส้อม หรือ ตะเกียบ แทนช้อน ในการรับประทานอาหาร - สั่งกับแยก ไม่ราดลงบนข้าว ✅ 5 ดูฉลากโภชนาการ เลือกผลิตภัณฑ์ที่โซเดียมไม่เกิน 140 มิลลิกรัม หรือ ไม่เกิน 6% ✅ 6 ปรับสมดุล คุมโซเดียม ถ้ามื้อนี้ทานอาหารที่โซเดียมสูงแล้ว มื้อหน้าก็ลองลดเป็นอาหารที่โซเดียมไม่สูงเกินไป เช่น ไก่อบ ปลาลวก สลัดผัก และสุดท้าย อย่าลืม ดื่มน้ำมากๆ นะคะ❤️
01 Feb 2024
ไหนใครสงสัยไหมว่า ฉันควรออกกำลังกายตอนเช้า หรือ ตอนเย็นดี? แล้วประโยชน์ของสองเวลานี้แตกต่างกันอย่างไร?
05 Feb 2024
7 เมนูอาหารเสริมสารไอโอดีน" โดยกรมอนามัย ! ❤️ รู้หรือไม่ หากไม่ได้ใช้เกลือเสริมไอโอดีน อาจขาดไอโอดีนได้ ! มาดูเมนูเสริมไอโอดีน ใน7 วันกัน ! * 1 ปลาทูสดนึ่งมะนาว
01 Feb 2024
เช็คอาการ มะเร็งลำไส้ คุณมีอาการเหล่านี้หรือเปล่า ? 👉อุจจาระมีเลือดออก (ที่ไม่ใช่เลือดจากริดสีดวง) 👉อุจจาระลักษณะผิดปกติ ลำเล็ก ลีบกว่าปกติ 👉ท้องผูกสลับกับท้องเสีย 👉มีอาการไม่สบายท้อง เช่น ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด เป็นระยะเวลานาน 👉น้ำหนักลด 👉อ่อนเพลีย (จากภาวะโลหิตจาง) หากมีอาการเหล่านี้ ควรพบแพทย์ด้านระบบทางเดินอาหาร เพื่อวินิจฉัยโรค และป้องกันให้ทันท่วงที ยังไม่ต้องตกใจนะคะ อาการเหล่านี้อาจพบได้ในโรคอื่นๆ ของระบบทางเดินอาหาร เพราะฉะนั้นไปตรวจเพื่อหาและรักษาโรคให้ตรงจุดจะดีกว่า https://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/bowel-cancer/symptoms
29 Jan 2024
ใคร ไปตรวจเลือดแล้วพบว่า “ไขมันในเลือดสูง” จะกินอะไรดี? ให้คุมไขมันได้ดีขึ้น ! ลองมาดูtips ตามนี้กันค่ะ ส่งตรงมาจากสมาคมแพทย์ต่อมไร้ท่ออเมริกา (AACE) เลยนะ 👍อาหารที่ควรทานเป็นประจำ
28 Jan 2024
แอปพลิเคชันเบาใจของเรา มีสิ่งเหล่านี้ ในการเป็นตัวช่วยดูแลสุขภาพ ในมือคุณ
29 Jan 2024
เบาหวานไม่ใช่โรคที่เกิดขึ้นแบบฉับพลันทันที แต่เกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทั้งที่สามารถควบคุมได้ และ ไม่สามารถควบคุมมันได้
31 Dec 2023
ผู้หญิงสมัยนี้สตรองกันสุดๆ ทำงานก็ต้องทำ ออกกำลังกายก็ยังออก แถม ถ้าเป็นช่วงที่มีประจำเดือน ชีวิตก็จะยากขึ้นไปอีก ใช่มั้ยล่ะ ไม่ว่าจะมีอาการเพลียๆ หรือปวดท้อง หรือ อารมณ์แปรปรวน 😂 ช่วง มีประจำเดือนนั้น อย่าลืม เพิ่มอาหารที่มี#แมกนีเซียมสูง ด้วยนะ อาหารที่มีแมกนีเซียมสูง มีอะไรบ้าง ? 👉🏻ผักใบเขียว เช่น ผักโขมฝรั่ง บรอกโคลี 🥦 👉🏻ถั่ว ธัญพืช เช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็กฟักทอง ถั่วลิสง ถั่วแดง งาขาว งาดํา 🥜 🫘 👉🏻 ผลไม้ เช่น กล้วย 🍌 👉🏻กุ้งแห้ง สาหร่ายเกลียวทอง 🦐 อาหารอื่นๆ ที่มีแมกนีเซียมในระดับปานกลาง เช่น เนื้อสัตว์ ปลา หอยขม เต้าหู้ขาว สะเดา สะตอ ถั่วเขียว ใบยอ สับปะรด เลือกกินกันได้เลยน้า แมกนีเซียมช่วยการออกกำลังกายได้ยังไง? แมกนีเซียมช่วยในการสร้างพลังงาน สร้างโปรตีน การทำงานของกล้ามเนื้อ การควบคุมระบบประสาท แล้วในช่วงการมีประจําเดือนของผู้หญิงล่ะ? แมกนีเซียมยังช่วย #ลดการอักเสบ ลดอาการผิดปกติตอนมีประจําเดือนได้ ข้อแนะนํา ควรรับประทานช่วงก่อนวันที่ประจําเดือนมา นะคะ อะ สาวๆ อย่าลืมแชร์ให้กันนะ หรือจะเป็นหนุ่มๆ แชร์ให้คุณแฟน พี่น้อง อ่านกันก็ได้นะคะ :)
28 Jan 2024
เมนูไหนเป็นเมนูโปรดของใครบ้าง? ยกมือขึ้น รู้หรือไม่ว่า ในหนึ่งวัน เราไม่ควรได้รับโซเดียมเกินกี่มิลลิกรัม? คำตอบ คือ 2,000 มิลลิกรัม (หรือ 6ช้อนชา นั่นเอง) โดยในอาหารมื้อหลัก ไม่ควรมีโซเดียมเกิน 600 มก (มิลลิกรัม) ซึ่งโซเดียมนี่เอง ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค#ความดัน #โรคไต #โรคหัวใจ แต่ ! ลองมาดูปริมาณโซเดียมในอาหารยอดนิยมของคนไทยเรากันค่ะ เส้นใหญ่ผัดขี้เมา มีโซเดียมเฉลี่ย 1,741 มก ต่อจาน ! สุกี้น้ำ 1 ถ้วย –>1,560 มก. บะหมี่หมูแดง –>1,480 มก. ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ –>1,417 มก. ผัดซีอิ๊ว –>1,352 มก. ข้าวคลุกกะปิ –> 1,248 มก. ข้าวขาหมู –> 1,205 มก. ข้าวมันไก่ –>1,184 มก. แกงส้มผักรวม 1 ถ้วย –> 1,130 มก. น้ำพริกกะปิ 4 ช้อนโต๊ะ –> 1,100 มก. ต้มยำกุ้ง -> 1,000 มก. ส้มตำอีสาน –>1,006 มก. เมนูอื่นๆ ผัดผักบุ้งไฟแดง –>894 มก. ผัดเผ็ดปลาดุก -> 750 มก. ข้าวหมูกรอบ –>700 มก. ทอดมันปลา -> 650 มก. แกงเขียวหวาน -> 625 มก. ปอเปี๊ยะสด –> 562 มก. ข้าวไข่เจียว –>362 มก. (แบบไม่ใส่ซอสพริกเพิ่ม) ทั้งนี้ ไม่ใช่ว่า จะกินเมนูนี้ไม่ได้แล้วนะ แต่ขึ้นอยู่กับปริมาณและความถี่ด้วย รวมทั้ง เทคนิคด้านล่างนี้ก็ช่วยได้ ! เทคนิค #ลดโซเดียม เลี่ยงโซเดียมอย่างไรไม่ให้ได้รับมากเกินไป 1 อาหารที่เป็นน้ำแกง น้ำซุป พยายามไม่ทานน้ำแกงจนหมดน้า ถ้าเป็นข้าวราดแกง ขอแยกแกงมาเลยจะดีมากค่ะ 2 อย่าปรุง อย่าจิ้ม (น้ำปลา น้ำจิ้ม ซีอิ๊ว)เพิ่ม ! เพราะโซเดียมในอาหารแต่ละจานก็มีสูงมากพอแล้ว เช่น กินข้าวมันไก่ สุกี้น้ำ ก็อย่าเติมน้ำจิ้มมาก จะดีกว่าน้า 3 หากมื้อนี้ทานอาหารโซเดียมสูงแล้ว มื้อหน้าก็เลือกเมนูอื่นที่โซเดียมไม่สูงเกินไปแทน เช่น ✅ ทานข้าวแป้งไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอรี ขนมปังโฮลวีท ✅ เพิ่มปริมาณผัก ✅ เลือกเนื้อสัตว์หรืออาหารที่ไม่แปรรูป ก็จะช่วยให้หลีกเลี่ยงโซเดียมที่เป็นต้นเหตุของโรค #ความดันโลหิตสูง และ #โรคไตเสื่อม ได้นะคะ ❤️ แหล่งอ้างอิง : ลดเค็มพิชิตภัยเงียบ โดยสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย
28 Jan 2024
กินบุฟเฟต์ ชาบู หมูกระทะ มื้ออาหารอันโปรดปรานของพวกเราชาวไทย จะไม่กินก็ยาก ไหนจะความอร่อย ความคุ้ม และ เพื่อนนัดแฮงค์เอาท์ กันทีไรก็นัดร้านบุฟเฟต์ตลอด
28 Jan 2024
อยากลดความอ้วนแต่ยังทำไมได้? อยากกินอาหารให้ " เฮลท์ตี" ขึ้น ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี ?
24 Jan 2024
Quiz time ! 6:6:1 ในรูปนี้คืออะไรบ้าง ใครเดาถูกบ้าง อยากสุขภาพดี หนีเบาหวาน ไกลโรคอ้วน ลดความดันและไขมัน 💪🏻 ลองปรับการกินตามสูตร 6 : 6 : 1 นี้กันนน 6:6:1 ในที่นี้ก็คือ การลดหวาน (น้ำตาล) มัน (ไขมัน) เค็ม (โซเดียม) นั่นเอง ✅ ทานน้ำตาล ไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน ✅ ทานน้ำมัน ไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน ✅ ทานเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน 🫢 แต่มีอาหารบางเมนูที่ดูเหมือนไม่เค็ม แต่มีโซเดียมแฝงเยอะต้องระวังน้า ตอนนี้รู้แล้วว่าควรทานอะไร ไม่เกินเท่าไหร่ แต่จะคุมให้ได้ ไม่ง่ายเลยนะ 📌มาลองดูเทคนิคง่ายๆ ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันกันนะคะ เทคนิค ‘ลดหวาน’ ❌ เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ชานม ชาเขียวเย็น กาแฟเย็น นมเปรี้ยว หรือสั่งหวานน้อย ✅ ดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำหวานให้เป็นนิสัย :) เทคนิค ‘ลดมัน’ ❌ ลดการทานเบเกอรี กะทิ เนื้อสัตว์แปรรูป (แฮม เบอคอน ไส้กรอก กุนเชียง แหนม ❌ เลี่ยงอาหารทอด น้ำมันท่วม เลือกกินเมนู ตุ๋น ต้ม นึ่ง ย่าง ยำ ✅ เลือกใช้น้ำมันประกอบอาหารให้ถูกชนิด * อาหารทอด ใช้น้ำมันรำข้าวหรือน้ำมันปาล์ม (เลี่ยงอาหารทอดซ้ำ) * อาหารประเภทผัด ใช้น้ำมันรำข้าวหรือน้ำมันถั่วเหลือง ✅ ควรมีน้ำมันรำข้าวติดบ้าน ใช้ได้ทั้งผัดและทอด เทคนิคลดเค็ม ❌ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง ขนมกรุบกรอบ และเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น แฮม เบคอน ไส้กรอก หมูยอ อาหารแช่แข็ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ❌ เลี่ยงการปรุงรสเพิ่ม ไม่ชิมก่อนปรุง และจิ้มน้ำจิ้มแต่น้อย ✅ ทานผัก ผลไม้เป็นประจำ ป้องกันเบาหวาน ความดัน, ไขมัน, โรคหัวใจ แล้วอย่าลืมแชร์ให้กับเพื่อนๆ & คนใกล้ตัวกันด้วยน้า 🥰❤️ #baojai #ลดพุงลดโรค #ลดอ้วนลดโรค #หวานมันเค็ม #เบาหวาน #ความดัน #ไขมันสูง #เบาใจ #แอปพลิเคชันสุขภาพ
24 Jan 2024
วิจัยจาก University of Oxford ประเทศอังกฤษ และ World Cancer Research Fund แนะนำว่า
24 Jan 2024
🤔ทำความรู้จัก “โรคเมตาบอลิก (Metabolic syndrome)”
24 Jan 2024
หากจะให้พูดถึงโปรตีน หลายๆ ท่านคงนึกถึงเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น เนื้อหมู เนื้อปลา เนื้อไก่ ไข่ ซึ่งจริงๆแล้วโปรตีนมีทั้งในพืชและในเนื้อสัตว์ และหากถามถึงประโยชน์ของโปรตีน ก็เชื่อว่าจะมีคำตอบเรื่องของการ เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
24 Jan 2024
ใครซื้อของด้วยความเคยชิน
24 Jan 2024
1. การตรวจหาภาวะโลหิตจาง และภูมิคุ้มกันของร่างกาย
24 Feb 2022
ออฟฟิศซินโดรมเป็นกลุ่มอาการที่พบมากในปัจจุบันและมักเกิดกับคนทำงานที่ต้องนั่งโต๊ะทำงานต่อเนื่องหลายชั่วโมง อยู่ในอิริยาบถหรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งในท่าซ้ำ ๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ซึ่งการนั่งทำงานในท่าทางที่ไม่เหมาะสมส่งผลกระทบให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งค้างในท่าเดิม และบางส่วนอาจถูกยืดค้าง รวมถึงข้อต่อต่าง ๆ ด้วย เช่น การนั่งไขว่ห้าง นั่งตัวงอคอยื่น เป็นต้น อาการในระยะแรกที่พบได้บ่อย คือ ปวดตามกล้ามเนื้อคอ บ่า ข้อมือ หรือหลัง และอาการจะเป็น ๆ หาย ๆ หากได้พักหรือหยุดงาน แต่คนทำงานส่วนใหญ่ก็มักจะละเลยสัญญาณเตือนของอาการปวดกล้ามเนื้อแบบออฟฟิศซินโดรมนี้ ปล่อยให้อาการลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังจนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต การทำงานและคุณภาพชีวิต โดยมีการประเมินว่าพนักงานที่ป่วยด้วยอาการออฟฟิศซินโดรมสูญเสียประสิทธิภาพการทำงานไปถึง 1 ใน 3 ซึ่งวิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยรูปแบบการออกกำลังกายที่แนะนำสำหรับป้องกันออฟฟิศซินโดรม ได้แก่ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching Exercise), การเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ (Strengthening Exercise)
16 Feb 2022
21 Mar 2022
- การทำงานแบบ virtual workplace ทุกคนต้องพึ่งดิจิตอลมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด
24 Feb 2022